Tag: ร้านหนังสือ

การขายหนังสือในยุคออฟไลน์

หลังจากที่ข้อตกลง Net Book Agreement 1995 ซึ่งมีไว้เพื่อป้องกันการขายหนังสือตัดราคากันถูกยกเลิกไป การขายหนังสือจึงเบนเข็มมาสู่การแข่งขันกันลดราคาเพื่อดึงดูดใจลูกค้า และการได้มาซึ่งส่วนลดเพื่อเป็นแต้มต่อในการขายนั้น ก็เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับสำนักพิมพ์และผู้ขายแต่ละราย อำนาจต่อรองในการซื้อของผู้ขายแต่ละรายไม่เท่ากัน ดังนั้นใครที่ได้ส่วนลดมากกว่ารายอื่นก็สามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบ

ร้านหนังสือสู้ฝ่าวิกฤติโคโรนา

ร้านหนังสือบางแห่งก็ต้องใช้วิธีลดจำนวนพนักงานลง ตัดรายจ่ายทุกอย่างเท่าที่ตัดได้ให้มากที่สุด โดยเจ้าของร้านหนังสือแห่งหนึ่ง บอกว่า “ฉันไม่อยากหลอกตัวเองว่าเรากำลังสบายดี จึงจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานที่ร้านลงไปครึ่งหนึ่ง ! ” ส่วนร้านหนังสือที่อยู่ตามเมืองท่องเที่ยว อย่างร้านที่อยู่แถวท่าเรือซึ่งจะมีเรือหรูลำใหญ่มาเทียบท่าเช่นแต่ก่อนนั้น บอกว่า “ลูกค้าที่ร้านส่วนใหญ่ก็มาจากนักท่องเที่ยวบนเรือเหล่านี้ บางวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในตัวเมืองเป็นหมื่นคน แต่พอถึงตอนนี้ มันไม่มีแบบนั้นอีกแล้ว ถึงตอนนี้ฉันรู้สึกว่าร้านของเราน่าจะอยู่รอดแต่มันจะกลายเป็นธุรกิจที่เล็กลงไปจากเดิมอย่างมากและคงต้องใช้เวลาอีกนานเพื่อฟื้นฟู”

ร้านหนังสือที่คิดเงินค่าเข้าร้าน

ที่ญี่ปุ่นมีร้านหนังสือเปิดใหม่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ที่ผ่านมา ชื่อ Bunkitsu ในเมืองโตเกียว เป็นร้านหนังสือที่ตกแต่งในสไตล์มินิมอล โดยจุดเด่นที่แตกต่างของร้านคือ มีการคิดเงินลูกค้าที่ต้องการเข้าร้าน

ร้านหนังสือที่เคลื่อนไปพร้อมกับชุมชน

ย้อนกลับไปถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อสำนักพิมพ์ใหญ่ซื้อกิจการหรือควบรวมกิจการกัน การพิจารณาคัดเลือก ตีพิมพ์ ทำการตลาดของหนังสือก็ยิ่งเหลือช่องทางน้อยลงไปทุกที นักเขียนอิสระ หนังสือแปลกแหวกแนว หรือหนังสือที่ทางสำนักพิมพ์พิจารณาว่าคงไม่สามารถขายได้หรือทำไปก็ไม่คุ้ม ... ก็เป็นเพียงเนื้อหาที่ล่องลอยอยู่ในอากาศเท่านั้นเอง ใครกันจะกล้าเสี่ยงทำหนังสือพิมพ์ครั้งแรกจำนวนมาก ๆ โดยที่ไม่มีดัชนีชี้วัดอะไรประกอบว่าต้องทำยอดขายได้ถล่มทลาย ดังนั้นหากเราเป็นหน่วยธุรกิจเล็ก ๆ สำนักพิมพ์ขนาดเล็กหรือนักเขียนอิสระและต้องการที่ยืนของตัวเอง เราก็ต้องหาวิธีการใหม่ที่ไม่ใช่การดำเนินไปตามครรลองดั้งเดิมแบบที่ว่ามา 

พนักงานร้านหนังสือหรือคอมพิวเตอร์

ตอนที่เดินอยู่ในร้านหนังสือ ผมเห็นชั้นหนังสือที่มีป้ายติดไว้ว่า "หนังสือแนะนำ" ซึ่งพูดกันตามตรง ร้านหนังสือที่ไหนในโลกก็มีป้ายแบบนี้ราวกับว่ามันเป็นนวัตกรรมขั้นสุดยอดของการขายหนังสือนับตั้งแต่ที่มีร้านหนังสือเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ลองเดาดูสิว่า ทำไม ? ชั้นหนังสือที่บอกว่า "หนังสือแนะนำ" นั้น ไม่ได้รู้จักด้วยซ้ำว่าผมชอบอ่านหนังสือแบบไหน ทั้งหมดที่ทำมาก็แค่กำลังบอกกับผมว่า "คุณต้องชอบมันแน่" มันก็ไม่ต่างอะไรกับการให้ของขวัญกับใครสักคน ที่คุณเลือกของขวัญชิ้นนั้นก็เพราะว่าคุณชอบสิ่งนั้น คุณต้องการมัน แล้วความสัมพันธ์แบบนี้ได้นำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนสักกี่ครั้งกัน

Amazon มีแผนจะเปิดร้านหนังสือเพิ่มขึ้น

Amazon มีทีท่าว่าจะเปิดร้านหนังสือในเครือตามที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น หลังจากปลายปีที่ผ่านมาได้เปิดร้านหนังสือแห่งแรกของตนเองนำร่อง แต่ข่าวนี้ก็ยังไม่มีอะไรยืนยันชัดเจนมากนัก เป็นเพียงการคาดการณ์ของผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ แต่จากข่าวลือดังกล่าว ก็อาจส่งผลให้ร้านหนังสือต่าง ๆ หรือร้านหนังสืออิสระเกิดอาการเสียวสันหลังได้เช่นกัน การที่ Amazon ประสบความสำเร็จในด้านค้าปลีกหนังสือตัวเล่มแล้วยังครองตลาด e-book อีกด้วย ซึ่งตลาด e-book นี้เองก็เพิ่งส่งผลทำให้เครือร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Borders ต้องประกาศล้มละลายมาแล้ว และในตอนนี้เองเครือร้านหนังสือระดับโลกอย่าง Barnes & Noble ก็บาดเจ็บไปตาม ๆ กัน

Barnes & Noble ทดลองขายเบียร์ในร้านหนังสือ

Barnes & Noble อยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตเพื่อขายเบียร์และไวน์ต่อทางสภาเมืองแต่ไม่ได้มีแผนจะขยายกิจการไปเป็นผับหรือบาร์ถึงขั้นนั้น โดย Barnes & Noble เพียงแต่ต้องการทดลองดูผลตอบรับที่สาขาที่ New Hartford ก่อนว่าเป็นอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเบียร์กับไวน์เข้าไปในสาขาอื่น ๆ ของตน

Barnes & Noble จำต้องปิดร้านหนังสือบางส่วน

Barnes & Noble ได้ต่อสู้เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดของตนในรอบหลายปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะคู่แข่งในรูปแบบของสื่อดิจิตอล อย่าง iPad และ Kindle แต่ดูเหมือนว่า Barnes & Noble ยังปรับตัวได้ช้าอยู่ Wall Street Journal ได้รายงานว่าบริษัทมีแผนที่จะปิดตัวร้านหนังสือลงในอัตราส่วนราว 20 ร้านต่อปี ในช่วงสิบปีนับจากนี้ ปัจจุบัน Barnes & Noble มีร้านหนังสือของตนอยู่ทั้งหมดราว 689 ร้าน แต่จากการคาดการณ์ในอนาคต จำนวนร้านอาจต้องลดลงมาเกือบหนึ่งในสาม มาอยู่ที่ 450 ถึง 500 ร้าน
Advertismentspot_img

Most Popular