Tag: หนังสือ

การอ่านของเราเปลี่ยนไปแล้ว

โลกในยุคปัจจุบันผู้คนต่างก็มีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เครื่องอ่าน ebook ซึ่งสามารถแสดงเนื้อหาต่าง ๆ ได้โดยทันที แต่อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีความแตกต่างทั้งในเรื่องของขนาดหน้าจอและระบบปฏิบัติการ ดังนั้นคำถามที่เกิดขึ้นก็คือ เราจะสามารถคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่าน แสดงผลได้เหมาะสมกับหน้าจออุปกรณ์ที่มีและได้ทันเวลาที่พวกเขาต้องการได้อย่างไร ? ในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์แล้ว สำนักพิมพ์จำเป็นต้องลงทุนในการพัฒนาเนื้อหาอยู่เนืองๆ แต่เพิ่งจะมีการคิดถึงเรื่องการนำเสนอเนื้อหาให้มีรูปแบบที่หลากหลายเมื่อไม่นานมานี้เอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เนื้อหาดังกล่าวสามารถแสดงผลได้บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ครอบคลุมและเข้ากันได้กับแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ สำนักพิมพ์หลายแห่งจึงหันมาจัดการเนื้อหาด้วยระบบไฟล์ XML (eXtensible Markup Language) เพื่อให้ตอบโจทย์ดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากระบบไฟล์ XML นั้น สามารถระบุส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหาได้อย่างเฉพาะเจาะจง...

เพราะเหตุใดคนจีนจึงอ่านหนังสือกันน้อยลง

ประเทศจีนถือว่าเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการรู้หนังสือมาอย่างยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่ซึ่งผู้คนปรารถนาที่จะอ่านได้คิดค้นกระดาษและเครื่องพิมพ์ แต่เมื่อกลับมาดูภาวะตลาดหนังสือในจีนตอนนี้แล้วช่างน่าประหลาดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่จีนได้ทำในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ด้วยการรณรงค์ลดการไม่รู้หนังสือและส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มากยิ่งขึ้น รัฐบาลจีนมีแผนที่จะลดจำนวนประชากรที่ไม่รู้หนังสือจาก 230 ล้านคน ในปี 1985 ให้เหลือ 50 ล้านคน ในปี 2011 ในขณะเดียวกันกับที่จำนวนผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมสี่เท่าตัวในช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการศึกษาจะมีอัตราการอ่านหนังสือยามว่างเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมและตลอดช่วงต้นและกลางของศตวรรษที่ 20 แต่สำหรับในจีนแล้วอัตราการอ่านหนังสือกลับลดลงในช่วง 13 ปีมานี้ จากที่เคยอยู่ที่ 60.4% ในปี 2000 ลดลงมาเหลือเพียง 54.9% ในปี 2012

ไม่ควรใช้เท้ากับหนังสือ

ในอินเดีย เราถูกสอนมาตั้งแต่เด็กว่า อย่าใช้เท้ากับกระดาษ หนังสือ หรือกับคนอื่น ๆ หากบังเอิญเอาเท้าไปโดนหนังสือ กระดาษ เครื่องดนตรีหรืออุปกรณ์ทางการศึกษา เด็ก ๆ ต้องเอามือไปแตะหนังสือแล้วตั้งอกตั้งใจขอโทษ สำหรับคนอินเดียแล้ว ความรู้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเกี่ยวพันกับจิตวิญญาณ ดังนั้นเราต้องเคารพอยู่เสมอ ทุกวันนี้เราแยกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและสิ่งทีเป็นเรื่องของทางโลกออกจากกัน แต่ในสมัยโบราณสิ่งของทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเพื่อการศึกษาหรือเพื่อศาสนาและจิตวิญญาณแล้วล้วนเป็นของศักดิ์สิทธิ์

การตั้งราคาหนังสือ

การตั้งราคาหนังสือนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ แต่บรรยากาศของตลาดโดยทั่วไปเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องนำมาพิจารณา ความผิดพลาดอย่างมหันต์ประการหนึ่งก็คือนักเขียนที่ตีพิมพ์และขายผลงานด้วยตนเองมักตั้งราคาขายหนังสือแพงเกินไป ซึ่งส่งผลให้หนังสือของเขาหายไปจากตลาด ! นอกจากต้นทุนการพิมพ์แล้วยังต้องพิจารณาต้นทุนอย่างอื่นด้วย เช่น รูปเล่มของหนังสือ กระดาษที่ใช้พิมพ์ เป็นต้น

การส่งออกช่วยเพิ่มยอดขายสำนักพิมพ์

แผนภูมิได้แสดงให้เห็นถึงการจัดส่งหนังสือของสำนักพิมพ์ แต่ทั้งนี้ไม่อาจใช้เป็นตัวชี้วัดยอดขายที่แม่นยำได้ ช่องทางแปดอย่างที่ได้แจกแจงมานั้น มีเพียงสองช่องทางที่แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของยอดขายจากปี 2010 ถึงปี 2013 ซึ่งก็คือ การขายปลีกออนไลน์และยอดขายจากการส่งออก ยอดขายจากการส่งออกเป็นหนึ่งในโอกาสการเติบโตที่แท้จริง สำหรับสำนักพิมพ์ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักพิมพ์ที่ทำหนังสือภาษาอังกฤษ

อนาคตของหนังสือตัวเล่ม

หนังสือกลายเป็นของศักดิสิทธิ์และห้องสมุดก็จะเป็นเหมือนกับพิพิธภัณฑ์ เราต่างก็เคยใช้การอ่านบนหน้าจอตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต แต่ทว่ายังไม่ได้แพร่หลายมากนักจนกระทั่งเครื่องอ่านอีบุ๊คส์ออกสู่ตลาดในปี 1998 ซึ่งนั่นทำให้เรามีทางเลือกใหม่เกิดขึ้นและส่งผลด้านลบต่อหนังสือตัวเล่ม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างซับซ้อนและคำว่า "หนังสือ" ก็ไม่ได้มีความหมายชัดเจนดังเช่นแต่ก่อนอีกต่อไป

ชาวกัมพูชากับนิสัยรักการอ่าน

"ก่อนยุคเขมรแดง ผู้คนอ่านหนังสือกันค่อนข้างมาก มีการเขียนหนังสือและมีห้องสมุดท้องถิ่น แต่แล้ววัฒนธรรมการอ่านก็ถูกทำลายลงในช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจ หนังสือต่าง ๆ ก็ถูกทำลายลงด้วย หนังสือถูกนำไปทำบุหรี่ ครูบาอาจารย์ นักเขียน ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เหมือนกับเวลาในช่วงนั้นถูกทำลายไป การขาดหายไปของช่วงเวลาดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อการถ่ายทอดความรู้ในครอบครัวและสังคม" ในปัจจุบันสิ่งที่เหมือนกันทั้งโลกคือ หนังสือและการอ่านต้องแข่งขันช่วงชิงเวลากับ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุรวมทั้งอินเตอร์เน็ตที่เป็นแหล่งบันเทิงทางเลือก

วัยรุ่นชอบหนังสือตัวเล่มมากกว่า ebook

// // วัยรุ่นช่วงอายุ  16-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์มากที่สุดแต่น่าแปลกใจคือ 62% ของวัยรุ่นช่วงอายุนี้ชอบอ่านหนังสือตัวเล่มมากกว่า ebook เหตุผลหลักสองประการที่ช่วงอายุนี้ชอบอ่านหนังสือตัวเล่มมากกว่าอย่างอื่นนั้นเป็นเพราะว่าความคุ้มค่าจากการจ่ายเงินและอารมณ์ร่วมที่มีกับหนังสือตัวเล่ม ในคำถามที่ถามถึงเรื่องราคาของ ebook  ราว 28% ตอบบว่า ebook ควรจะมีราคาถูกกว่าในปัจจุบันครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ 8% มองว่าราคา ebook ในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว ส่วนเหตุผลหลักที่เลือกหนังสือตัวเล่มมากกว่า ebook ได้แก่ "ชอบที่จะถือหนังสือ 51%"  รองลงมาคือ "ไม่ต้องถูกจำกัดอยู่กับอุปกรณ์เฉพาะอย่าง 20%" ถัดมาคือ "สามารถแบ่งปันได้ง่าย 20%"  และตามมาด้วย...
Advertismentspot_img

Most Popular