Library 3.0

Listen to this article

บทความชิ้นนี้อ้างอิงจากงานเขียนของ  Curt Hopkins

 

ห้องสมุดหลายแห่งกำลังพยายามรักษาสมดุลระหว่างหนังสือตัวเล่มและหนังสือดิจิตอลทั้ง ๆ ที่ถูกตัดลดงบประมาณ

ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดบางคนบอกว่า ห้องสมุดกำลังเปลี่ยนไป และกำลังเปลี่ยนไปเป็นบริษัทที่ให้บริการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งมีบรรณารักษ์นั่งทำงานอยู่

 

ดูเหมือนว่าห้องสมุดกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสำหรับสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ แต่สำหรับเด็กเล็ก ๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่ายังไม่รวดเร็วพอ และสำหรับวัยนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่าไม่ช้าไม่เร็ว  ประสบการณ์กับห้องสมุดของพวกเขาเป็นสิ่งที่เหมือนกับการเล่นกระดานโต้คลื่น ต้องพยายามไต่อยู่บนสันคลื่นที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เสมอ

ในหลาย ๆ ทาง ห้องสมุดในวันนี้นั้นก็ดูเหมือนห้องสมุดในปีที่ผ่านมา  ถึงแม้ว่าโต๊ะที่ใช้วางพวกบัตรรายการหนังสือจะมีคอมพิวเตอร์วางอยู่เช่นกัน แต่ในทางตรงกันข้ามที่นั่นก็ยังมีช่องอ่านหนังสือเฉพาะบุคคลชั้นหนังสือและโต๊ะทำงานของบรรณารักษ์

Sarah Houghton หัวหน้าห้องสมุดสาธารณะ San Rafael ในแคลิฟอร์เนียและบล็อกเกอร์ของเว็บไซต์ Librarian in Black กล่าวว่า “เด็กเล็ก ๆ ที่มายังห้องสมุดแห่งนี้ คาดหวังอยู่สามอย่าง ได้แก่ จอภาพทุกอย่างที่เป็นจอสัมผัสและหากไม่มีมันแล้วพวกเขาจะรู้สึกแย่มาก เด็ก ๆ คาดหวังที่จะได้รับทุกสิ่งโดยทันที ถ้าหากคุณไม่สามารถทำมันได้​ ณ วินาทีนั้น พวกเขาก็จะไม่อยู่รอหรอก แล้วเวลาที่คุณบอกพวกเด็ก ๆ ว่า หนังสือที่พวกเขาต้องการไม่ได้มีแบบที่เป็นดิจิตอลหรือ e-book  มันมีแต่แบบที่เป็นตัวเล่มพวกเขาจะรู้สึกสับสน และถ้าหากว่ามีหนังสือบางเล่มที่พวกเขาต้องใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน อย่างวัฒนธรรมของชนเผ่ามายัน แล้วไม่มีที่เป็นอีบุ๊คส์ละก็ พวกเขาแทบจะคลั่งกันเลยทีเดียว”

แม้ว่าห้องสมุดหลายแห่งมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้ามาก แต่ความคาดหวังของเหล่าบรรดาเด็ก  ๆ ในทุกวันนี้ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 


การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดสำหรับห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนและรูปแบบของอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงการค้นหาข้อมูล

 

“การมีแคตตาล็อกที่ทันสมัย มีข้อมูลในรูปดิจิตอล มีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล รวมทั้งมีอุปกรณ์ที่สามารถนำสิ่งเหล่านี้มายังผู้ใช้ห้องสมุดเพียงปลายนิ้ว ทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดคนหนึ่งกลายเป็นแคตตาล็อกเดินได้เลยทีเดียว”

Chris Bourg หนึ่งในคณะกรรมการบรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัย  Stanford  กล่าวว่า “แคตตาล็อกของเรา คือระบบSearchWorks มีฟังก์ชันการทำงานที่ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาปกหนังสือออนไลน์ได้จากฐานข้อมูลของห้องสมุดจากวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 17 แห่งได้ภายในครั้งเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลยว่าไม่สามารถทำได้ถ้าหากยังไม่มีข้อมูลในแบบดิจิตอล”

เขายังบอกอีกด้วยว่า ” เราคิดว่าห้องสมุดเป็นเหมือนกับสิ่งแวดล้อมที่มีการผสมผสานเข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วย พื้นที่ ผู้คน และหนังสือ ไปจนกระทั่งความเป็นดิจิตอลที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์ได้ แต่ในความเป็นจริงก็คือว่า เทคโนโลยีเพียงแต่ช่วยให้ห้องสมุดมีหนทางใหม่ ๆ ในการจัดการกับภาระกิจในวันวานของเราไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บหนังสือ รักษาหนังสือ บริหารจัดการและช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย”

ทางด้าน Daryl Green เชื่อว่าการยกเลิกการใช้บัตรรายการหนังสือเป็นหนึ่งในการปรับปรุงที่ยอดเยี่ยมในยุคห้องสมุดมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ที่หันมาอาศัยเทคโนโลยีเป็นหลัก โดย  Green เป็นบรรณารักษ์หนังสือหายากที่มหาวิทยาลัย St. Andrews ในสก็อตแลนด์และเป็นนักเขียนคนหนึ่งใน Blog ที่ชื่อว่า Echoes from the Vault

เขากล่าวว่า “ผมคิด่วาการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นจะช่วยในการเข้าถึงรายการหนังสือและฐานข้อมูลได้เร็วขึ้น ผู้อ่านสามารถค้นหาหนังสือจากเชิงอรรถได้อย่างรวดเร็วและตัดสินใจได้ว่า บทความหรือหนังสือเล่มไหนที่เขาควรให้ความสนใจในการนำมาอ้างอิงและอันไหนที่ไม่ต้องเสียเวลาอ่าน ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที โดยก่อนหน้านี้ ขั้นตอนที่สำคัญนี้นั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก”

Green กล่าวว่า ” ธรรมชาติของห้องสมุดในสถานศึกษานั้นมักจะเป็นที่สำหรับจัดหาข้อมูลสำหรับงานวิจัย การเรียนและกิจกรรมทางสังคมรวมทั้งการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ เขาคิดว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ธรรมชาติของห้องสมุดไม่เคยเปลี่ยน แต่การให้บริการของห้องสมุดและบทบาทที่ห้องสมุดมีต่อชีวิตนักเรียน นักศึกษาและนักวิจัยต่างหากที่จะเปลี่ยนไป”

 

 


ทางด้าน Elijah Meeks ที่ทำงานอยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Stanford แต่ว่าเขาไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ แต่ทำหน้าที่ “ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับความเป็นดิจิตอล”  เขาเป็นหนึ่งในผู้สร้าง interactive ORBIS atlas of Roman history  ซึ่ง Meeks มองว่า ห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยในอนาคตจะมีลักษณะคล้ายกับ Google

 

“ผมมองว่าห้องสมุดในอนาคต  จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกับบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่ทันสมัย คล้ายกับเป็น Google เล็ก ๆ อันหนึ่งที่ให้บริการแก่ผู้คนที่อยู่แถบนั้น”

Steven Gass ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการสอนการใช้ที่ MIT มองว่าด้วยปัจจัยทางด้านการเงินของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งถูกยุบมารวมกันและบางแห่งก็ถูกปิดตัว เขามองเห็นอนาคตของห้องสมุดมหาวิทยาลัยว่าจะเกิดการยุบรวมตัวกันอย่างต่อเนื่องและนำเอานวัตกรรมอย่างบรรณารักษ์เฉพาะทางมาใช้  ซึ่งเป็นบรรดาบรรณารักษ์ที่อยู่ตามแผนกต่าง ๆ อยู่ตามห้องทดลองและศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยนั้น  ๆ ที่จะคอยเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือค้นหาหนังสือให้แก่ผู้ที่ต้องการ อย่างเช่น นักศึกษาหรือนักวิจัย”

ตัวอย่างสุดพิเศษ คือ  Welch Medical Library  ที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins โดยห้องสมุดนี้ จะไม่อนุญาตให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1  เข้า  ซึ่งทำให้นักศึกษาเหล่านั้นต้องดาวน์โหลดเนื้อหาหรือบทความต่าง ๆ รวมทั้งใช้บริการบรรณารักษ์เฉพาะทางในการเข้าถึงข้อมูลและหนังสือ

Gass บอกว่า “บทบาทที่สำคัญที่สุดที่บรรณารักษ์กำลังจะต้องทำนั้น คือการเป็นผู้ให้คำแนะออนไลน์ที่เชื่อถือได้  โดยทั่วไป คนจะรู้จักหรือเรียนรู้หรือบ่อยครั้งโดยการซึมซับว่าอะไรที่เป็นส่วนที่น่าเชื่อในหนังสือ มันเป็นการคาดคะเนที่ปลอดภัย ถ้าเรามองว่าหนังสือที่ตีพิมพ์โดย  Oxford University Press นั้น มีความน่าเชื่อถือกว่าหนังสือที่ตีพิมพ์โดย Hustler แต่เราจะทำอย่างไรกับสิ่งเดียวกันนี้ในโลกออนไลน์”

“มันเป็นการแชร์เป้าหมายร่วมกันระหว่างบรรณารักษ์ทั่วประเทศ ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรถึงจะระบุข้อมูลที่มีคุณภาพได้  การปลูกฝังนักศึกษาใหม่เกี่ยวกับวิธีคิดเรื่องข้อมูล คุณภาพของข้อมูล สอนให้พวกเขารู้ทันเกมส์การตลาด หรือพูดได้ว่า เป็นการประเมินความถูกต้องแม่นยำ”

ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้เป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญสำหรับบรรณารักษ์ที่เกี่ยวข้องทุกคน

Bourg กล่าวว่า “ข้อมูลที่นักเรียนนักศึกษาต้องการใช้ในการวิจัยและการสอนนั้น หรือในไม่ช้า จะสามารถหาได้ฟรีบนโลกออนไลน์ นับเป็นเรื่องที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันถูกใช้เป็นข้ออ้างในการตัดเงินอุดหนุนที่ให้แก่ห้องสมุด  ปัจจุบันนี้ ห้องสมุดต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่แต่ทว่าก็น่าตื่นเต้นไม่น้อยกับการคงหนังสือตัวเล่มที่มีอยู่และบริการที่พวกเขาคิดว่ายังจำเป็น ในขณะเดียวกันกับที่มีการพัฒนายุทธศาสตร์ในการเก็บรักษาหนังสือ การจัดการและการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลไปพร้อม ๆ กัน  ผมเกรงว่า ถ้าหากห้องสมุดทั่วประเทศไม่ได้มีแหล่งข้อมูลที่เก็บสะสมมาตรงกับความต้องการแล้วละก็ อาจเสี่ยงกับการต้องสูญเสียหนังสือที่เราได้เก็บสะสมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาเนื่องจากขาดเงินทุนอุดหนุนสำหรับการทำเนื้อหาและการเก็บรักษาข้อมูลดิจิตอล”

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้