อายุมากขึ้นเวลายิ่งผ่านไปเร็ว

Listen to this article
ตอนที่เราเป็นเด็ก วิ่งเล่นไปวัน ๆ เวลาโรงเรียนเปิดเทอมกว่าจะหมดไปแต่ละคาบวิชา ทำไมมันนานอย่างนี้ พอปิดเทอมวันแรกดีใจมากที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ผ่านไปสองสามวัน เริ่มรู้สึกว่าอยู่บ้านน่าเบื่อ ไม่มีอะไรทำ วิ่งเล่นก็แล้ว เล่นเกมส์ก็แล้ว รู้สึกเหงา ๆ อยากกลับไปเจอเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน ทำไมเวลามันผ่านไปช้าจุงเบยยย !
 
พอแก่ตัวมา มักได้ยินคำพูดเสมอว่า เวลามันผ่านไปเร็ว ทำไมมันขัดแย้งกันตอนเราเป็นเด็กจัง !
 
 
การที่เวลาผ่านไปเร็วไม่ได้เป็นผลมาจากการที่ชีวิตวัยผู้ใหญ่ของเราต้องรับผิดชอบภาระหน้าที่หลายอย่าง
 
เพราะเหตุใดกัน ? ……. …….

aging

มีทฤษฎีมากมายที่พยายามจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าทำไม

“เมื่อเราอายุมากขึ้นเราถึงรู้สึกว่าวันเวลามันช่างผ่านไปเร็ว” 
แนวความคิดหนึ่งก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงนาฬิกาชีวิตในตัวเรา เมื่อเราอายุมากขึ้นกลไกเมตาบอลิซึมของเราก็ช้าลงสัมพันธ์กับอัตราการเต้นของหัวใจและการอัตราการหายใจที่ช้าลงเช่นกัน ตรงกับข้ามกับของเด็ก ๆ ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจถี่กว่าในช่วงเวลาเท่ากัน จึงทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็ว ( หายใจไม่กี่ครั้ง หมดชั่วโมงแล้ว ไรงี้ )
 
อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า การรับรู้เรื่องกาลเวลาสัมพันธ์กับปริมาณการรับรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ของเรา เมื่อเราเจอกับสิ่งใหม่ ๆ มากมาย ก็จะกระตุ้นให้สมองเราให้ใช้ระยะเวลาประมวลข้อมูลนานขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวรู้สึกเหมือนยาวนานกว่า สภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยทำให้เราต้องประมวลผลข้อมูลใหม่จำนวนมาก
 

ในความเป็นจริงแล้ว เวลาที่เราเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ สมองของเราจะทำการบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในความทรงจำ เพื่อที่ว่ามันเป็นการเรียบเรียงชุดความจำของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้ช้ามากกว่าตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
 
 
แล้วมันใช้อธิบายเรื่องการรับรู้ถึงวันเวลาที่เหลือน้อยลงทุกทีเมื่อเราอายุมากขึ้นได้อย่างไร
 
ทฤษฏีบอกกับเราว่า พอเราแก่ตัวขึ้นเราก็จะคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เราไม่ได้สังเกตเห็นรายละเอียดของสิ่งแวดล้อมรอบบ้านหรือที่ทำงานดังเช่นแต่ก่อน
 
แต่สำหรับเด็ก ๆ โลกช่างเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยและมักจะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิตอยู่เสมอ นั่นหมายความว่าเด็ก ๆ ต้องทุ่มเทใช้พลังสมองอย่างมากที่จะจัดการกับความคิดที่มีต่อโลกภายนอก ทฤษฎีบอกเราว่านี่ทำให้เวลาไหลผ่านไปช้า ๆ สำหรับเด็กมากกว่ากับผู้ใหญ่ที่ติดอยู่กับชีวิตประจำวันเดิมๆ
 
ดังนั้นยิ่งเรามีความคุ้นเคยกับประสบการณ์ในแต่ละวันมากเท่าไหร่ เวลาก็ดูเหมือนจะยิ่งเดินเร็วขึ้น และโดยทั่วไปแล้วความคุ้นเคยก็จะเพิ่มตามอายุของเรานั่นเอง
 
กลไกทางชีวเคมีเบื้องหลังทฤษฎีนี้อาจมาจากการปล่อยสารสื่อประสาทที่ชื่อ โดปามีน โดยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น หลังจากอายุ 20 เป็นต้นไป ระดับของโดปามีนก็ลดลงทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็ว
 
 
สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ ระยะเวลา 1 ปีนั้นเป็นเวลาครึ่งหนึ่งของชีวิตเขาเลยนะ นั่นถึงเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงดูเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเมื่อเด็กคนนั้นรอกว่าจะให้ถึงวันเกิดของเขาในปีถัดไป
 
ในขณะที่เด็กอายุ 10 ขวบ ระยะเวลา 1 ปี ถือว่าเป็น 10% ของชีวิตเขา
เด็กอายุ 20 ปี ระยะเวลา 1 ปี คิดเป็น 5% ของชีวิต
 
ด้วยเหตุผลทางสถิติแบบนี้เราจึงเห็นได้ว่า เวลามักจะผ่านไปเร็วเมื่ออายุมากขึ้น

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

ฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊ค 1TB SSD M.2

1TB SSD (เอสเอสดี) HIKVISION E3000 M.2 PCI-e Gen 3 x 4 NVMe ประกัน 5 ปี