หนังสืออาบยาพิษ มีจริงหรือ ?

0
978
Listen to this article

Jakob ซึ่งเป็นบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าทำงานร่วมกับ Kaare Lund Rasmussen รองศาสตราจารย์ทางด้านฟิสิกส์เคมีและเภสัชศาสตร์   ทั้งสองท่านนี้ทำงานที่  University of Southern Denmark ได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของหนังสือโบราณในยุคกลางที่อาจมีการอาบยาพิษ

หลายคนคงจำกันได้เรื่องหนังสือแห่งความตายของอริสโตเติลที่มีส่วนสำคัญในพล็อตนวนิยายเรื่อง The Name of the Rose ของ Umberto Eco ในปี 1980

โดยเรื่องราวเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 14  ที่พระเบเนดิกต์ตนหนึ่งนำพิษไปเคลือบไว้ที่ปกหนังสือ ทำให้ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มดังกล่าวที่เผลอเลียนิ้วมือตัวเองเพื่อจะพลิกอ่านหน้าถัดไปได้รับพิษจนถึงแก่ความตาย

เรื่องราวที่ว่ามานั้นเป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่ ? หนังสืออาบยาพิษมีจริงหรือ ?

จากการวิจัยล่าสุดของเราชี้ให้เห็นว่า “มันเป็นไปได้”  เราพบหนังสือหายากที่อยู่ในหมวดประวัติศาสตร์จำนวนสามเล่มที่ University of Southern Denmark ซึ่งหนังสือสามเล่มดังกล่าวมีการปนเปื้อนของสารหนูปริมาณสูงบริเวณปกหนังสือและเป็นหนังสือที่มาจากศตวรรษที่ 16 และศตวรรษที่ 17

การตรวจหาคุณภาพสารพิษของหนังสือเหล่านี้อาศัยการวิเคราะห์ด้วยวิธี X-ray fluorescence  (micro-XRF) ซึ่งหลักการของวิธีการนี้  หลังจากที่วัตถุดูดกลืนรังสี X-ray เข้าไปแล้วแต่ละวัตถุจะก็จะแผ่รังสีกลับออกมาในเสปคตรัมทางเคมีที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวต่างกันไป

ดังนั้นจึงทดลองโดยจะฉายรังสี X-ray ไปที่หนังสือแล้วตรวจวัดการแผ่รังสีที่ออกมาจากหนังสือดังกล่าว นำข้อมูลที่ได้ไปทำการวิเคราะห์ 

ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มงานสาขาโบราณคดีและศิลปะ เพื่อตรวจสอบหาองค์ประกอบทางเคมีของเครื่องปั้นดินเผาและภาพวาด เป็นต้น

เหตุผลที่เรานำหนังสือหายากทั้งสามเล่มดังกล่าวมาทดลอง เนื่องจากทางห้องสมุดได้พบก่อนหน้านี้ว่ามีหนังสือบางส่วนที่มาจากยุคกลาง อย่างเช่น หนังสือกฏหมายโรมัน หนังสือกฏหมายศาสนจักร ก็เคยใช้วิธีการอาบยาพิษแบบเดียวกันนี้บนปกหนังสือ

นักวิจัยกำลังถือหนังสือเก่าที่มีการปนเปื้อนของสารหนูอย่างระมัดระวัง
image source : www.livescience.com

………

เราพยายามที่จะระบุตัวอักษรภาษาลาตินที่ใช้ หรืออย่างน้อยก็อ่านบางส่วนของเนื้อหาในหนังสือ แต่เราพบว่าตัวอักษรลาตินที่อยู่บนปกของหนังสือทั้งสามเล่มนี้ อ่านได้ยากเนื่องจากมีชั้นของสีเขียวที่ระบายทับลงไปค่อนข้างหนาซึ่งไปปิดทับตัวอักษรลายมือเดิมจนมองไม่เห็น

จึงได้นำหนังสือทั้งหมดไปที่ห้องทดลอง โดยมีแนวคิดว่าจะใช้การทำ  micro-XRF  เพื่อส่องผ่านชั้นสีที่ทับไว้ไปจนถึงชั้นหมึกที่อยู่ด้านล่างเพื่อหาองค์ประกอบทางเคมี ยกตัวอย่างเช่น เหล็กและแคลเซี่ยม โดยหวังว่าจะช่วยทำให้ตัวอักษรเดิมที่อยู่บนปกสามารถอ่านได้บ้าง

แต่สิ่งที่เหนือความคาดหมายก็คือ  micro-XRF ได้เผยให้เห็นว่าตัวเม็ดสีสีเขียวที่คิดว่าเป็นสีทาทับไว้นั้น แท้จริงแล้วคือสารหนู  ซึ่งเป็นสารที่มีพิษมากที่สุดในโลกและคนที่ได้รับสารหนูก็อาจแสดงอาการต่อพิษได้หลากหลาย อาจก่อมะเร็งและหากได้รับในปริมาณสูงก็อาจถึงตายได้

สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติพบเห็นได้ทั่วไป  โดยทั่วไปสารหนูจะจับกับธาตุอื่นอย่างคาร์บอนและไฮโดรเจน เราเรียกสารประกอบนี้ว่า สารหนูอินทรีย์

ส่วนอีกแบบก็คือสารหนูอนินทรีย์ซึ่งจะอยู่ในรูปของธาตุโลหะบริสุทธิ์หรือในรูปสารประกอบ ซึ่งมีความเป็นพิษมากกว่า และความเป็นพิษไม่ได้ลดลงตามกาลเวลาแต่อย่างใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะเวลานานในการได้รับ  ความเป็นพิษจากการได้รับสารหนู อาจทำให้มีอาการมวนท้อง ลำไส้ คลื่นไส้ ท้องเสีย  ผิวเปลี่ยนสี เจ็บหน้าอก

ส่วนสีเขียวที่เราพบบนปกหนังสือเหล่านั้น เรียกกันทั่วไปว่า Paris green ซึ่งเป็นสารประกอบอนินทรีย์ มีความเป็นพิษสูง ทางเคมีเรียกว่า copper(II) acetoarsenite หรือ  copper(II) acetoarsenite สูตรเคมีคือ  Cu(C₂H₃O₂)₂·3Cu(AsO₂)₂  นอกจากนี้ยังเรียกได้อีกชื่อว่า  emerald green เนื่องจากความเขียวของมันคล้ายกับมรกตนั่นเอง

เม็ดสีของสารหนูนั้นจะมีลักษณะเป็นผงแวววาว สามารถผลิตขึ้นได้ง่ายและนำไปใช้ได้หลากหลายจุดประสงค์ โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19    โดยขนาดของเม็ดสีเองมีส่วนต่อการให้เฉดสี อย่างที่เราเห็นในงานสีน้ำมัน หากเม็ดสีมีขนาดใหญ่ก็จะให้สีเขียวเข้มกว่าเม็ดสีเล็กที่จะให้สีเขียวสว่างกว่า 

การผลิต Paris green นั้นเริ่มขึ้นในยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ศิลปินแนวอิมเพรสชั่นและโพสต์อิมเพรสชั่น จะใช้เม็ดสีขนาดต่าง ๆ เหล่านี้ในการวาดภาพที่ฉ่ำด้วยสีสัน นั่นหมายความว่า พิพิธภัณฑ์หลายแห่งในปัจจุบันมีภาพวาดที่ปนเปื้อนสารพิษนี้อยู่

ในยุครุ่งเรืองของสารหนูนี้ แทบทุกวัสดุไม่ว่าจะเป็นปกหนังสือ เสื้อผ้า ก็อาจจะถูกเคลือบด้วย Paris green นี้ด้วยเหตุผลเพื่อความสวยงาม และแน่นอนว่าการที่ผิวหนังของคนเราต้องสัมผัสกับสารพิษดังกล่าวต่อเนื่องเป็นเวลานานก็อาจก่อให้เกิดอาการเป็นพิษในที่สุด แต่ทว่าในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 ผู้คนต่างตระหนักถึงพิษของมันเป็นอย่างดี ทำให้เลิกใช้สารหนูเป็นตัวให้สีคงเหลือเพียงแต่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงตามพื้นที่การเกษตร

และหลังจากนั้นก็มีนำเม็ดสีอย่างอื่นเข้ามาทดแทน Paris green สำหรับงานศิลปะและอุตสาหกรรมทักทอ จนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 20 การใช้สารหนูในพื้นที่การเกษตรจึงลดน้อยลงไปเช่นเดียวกัน

สำหรับในกรณีหนังสือเหล่านี้ เม็ดสีที่เราเจอไม่ได้ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางด้านความงาม ตามที่พบอยู่บริเวณด้านล่างของปก คำอธิบายที่ดูเป็นไปได้มากที่สุดก็คือว่าในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการใช้ Paris green กับหนังสือเก่าเหล่านี้เพื่อป้องกันการถูกแมลงกัดแทะ

ภายใต้สภาวะบางประการ สารหนูอย่าง arsenates และ arsenites อาจถูกจุลชีพเปลี่ยนแปลงไปเป็น arsine (AsH₃) ซึ่งก็คือแก๊สพิษที่มีกลิ่นคล้ายกระเทียม 

ถึงตอนนี้ ทางห้องสมุดได้แยกเก็บหนังสือสามเล่มดังกล่าวไว้ในกล่องต่างหากโดยมีป้ายเตือนติดไว้ที่กล่องบนชั้นที่มีการถ่ายเทอากาศพร้อมทั้งคิดถึงแผนการที่จะนำหนังสือมาดังกล่าวมาทำให้อยู่ในรูป ebook เพื่อลดการสัมผัสกับตัวเล่ม

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ครับ
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM

บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here